ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว

กลุ่มสีเขียว💚

ติดเชื้อไม่แสดงอาการ
หรือแสดงอาการเล็กน้อย

           กลุ่มสีเขียวคือกลุ่มไหน : คือ กลุ่มที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอหรือเจ็บคอ มีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ให้ลองสังเกตุอาการด้วยการวัดอุณหภูมิ วัดความดัน วัดค่าออกซิเจนในเลือด บ่อยๆ แนะนำให้ลงทะเบียนเพื่อทำ Home Isolation ซึ่งควรมีคุณสมบัติดังนี้คือ

  • ใช้ smart phone เป็น
  • ช่วยเหลือตัวเองได้ หรือมีคนในครอบครัวดูแล
  • มีห้องหรือพื้นที่ส่วนตัวแยกจากคนในครอบครัว

          แต่หากไม่เข้าข่ายใน 3 ข้อนี้ ขอให้ลงทะเบียนทำ Community Isolation ในพื้นที่ของท่าน สามารถลงทะเบียนเพื่อรับยา และอาหารได้ที่ 1330  หรือที่เพจอาสาต่างๆ

เรื่องเด่นที่ควรรู้

ขั้นตอนการลงทะเบียน เพื่อขอรับความช่วยเหลือ

เรื่องที่ควรรู้

ข้อมูลเพิ่มเติม

แนวทางปฏิบัติตัวเมื่อเป็นผู้ป่วยสีเขียว

แนวทางปฏิบัติตัวเมื่อเป็นผู้ป่วยสีเขียว

🟩 และสำหรับคนที่ตรวจพบเชื้อแต่ไม่มีอาการ
🟢 สำหรับผู้ป่วยสีเขียวนั้นต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อน โดยไม่มีอาการหายใจลำบาก และออกซิเจนต้องไม่ต่ำกว่า 96%⭕
 
▶ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ต้องเจอคนในบ้าน
ควรใส่ 2 ชั้น โดย ใส่หน้ากาก N95 ไว้ด้านนอก และหน้ากากอนามัยไว้ด้านใน
▶ห้ามใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และแยกห้องน้ำใช้หากสามารถทำได้
▶งดทานอาหารร่วมกันเด็ดขาด
▶รักษาระยะห่างกับคนในบ้านให้มากกว่า 2 เมตร
▶หมั่นวัดออกซิเจน
 
📍Tips
▶ ทางการแพทย์มีการใช้วิธีวัดออกซิเจนด้วยการเดิน 6 นาที (6 minutes walk test)🚶‍♀
โดยเริ่มจาก วัดออกซิเจนก่อนเดิน แล้วออกไปเดิน 6 นาที หรือ 3 นาทีสำหรับผู้สูงอายุ เดินไปเดินมาในห้องแบบไม่ต้องเร็ว แล้วกลับมาวัดซ้ำ ถ้าค่าลดลงมากกว่า 4 จากค่าก่อนเดิน ให้รีบรายงานแพทย์📞
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้านเป็นยังไง?
Accordion Panel
5 คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับการซักล้างและทำความสะอาดบ้านในยุคโควิด-19
RT-PCR และ Rapid Antigen Test แตกต่างกันอย่างไร

           สำหรับ Rapid Antigen Test เป็นการตรวจที่สะดวกและใช้ระยะเวลาน้อยกว่าในการวินิจฉัย เป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในระดับเบื้องต้น หากผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) ต้องตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันอีกครั้ง ต่างกับการตรวจแบบ RT-PCR ที่เป็นการตรวจในระดับสูงสามารถยืนยันเชื้อได้แม้จะมีเชื้ออยู่ในตัวน้อยมากก็ตาม โดยไม่ต้องพึ่งการตรวจแบบอื่นอีก แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยนานกว่าแบบ Rapid Antigen Test

แนวปฏิบัติการตรวจคัดกรอง Antigen Test Kit
การตรวจ Antigen Test Kit ด้วยตัวเอง

10 ขั้นตอน ‘การตรวจ Antigen ด้วยตัวเอง’

1. ทำความสะอาดมือ และความสะอาดพื้นที่ที่จะตรวจ

2. ดูว่าชุดตรวจไม่หมดอายุ สิ่งที่กังวล คือ หากซื้อตามออนไลน์อาจหมดอายุ อันตราย ทำให้ผลตรวจผิดพลาด

3. ตัวเทสต้องไม่มีสี ยังไม่ขึ้นขีด ให้แน่ใจว่ายังไม่ถูกใช้งาน

4. สั่งน้ำมูก เคลียร์ช่องจมูก

5. Swab ซ้ายและขวา วน ข้างละ 5 ครั้ง พยายามให้โดนผนังจมูก

6. ใส่ไม้ที่พันสำลีไว้ในหลอดสารละลาย บีบหลอดให้แน่น เพื่อให้เซลล์ที่ก้านสำลีผสมกับน้ำยาให้มากที่สุด

7. วางแถบตรวจ นำสารละลายมาหยดที่ช่องแถบตรวจน้ำยา (จำนวนหยดแล้วแต่ยี่ห้อแนะนำ)

8. อ่านผลตรวจใน 15 นาที ไม่ควรเกิน 30 นาที

9. หากขึ้นทั้งสองขีดทั้ง T และ C แปลว่าผลเป็นบวก อย่างไรก็ตามตัว C ต้องขึ้นทุกครั้ง หากไม่ขึ้นแสดงว่าชุดตรวจมีปัญหา หรือหากทิ้งไว้นานเกิน 30 นาที บางครั้งจะขึ้นสองขีด ดังนั้น อย่าอ่านเกินเวลา

10. ก่อนทิ้งให้ใส่อุปกรณ์ในซองที่ไม่ใช้แล้ว เติมน้ำยาล้างจาน หรือไฮเตอร์ ปิดให้มิดชิด ทิ้งให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย

ข่าวล่าสุด

2 thoughts on “ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *